นักวิจัยจาก RIKEN Center for Emergent Matter Science (CEMS) ในญี่ปุ่นได้ค้นพบวิธีที่ง่ายและราคาไม่แพงในการกักเก็บแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารที่สำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งการผลิตปุ๋ย สารเคมี และสารทำความสะอาด

แล้วไฮโดรเจนเกี่ยวไรกับแอมโมเนีย ?
นั่นเพราะว่า ในสารประกอบของแอมโมเนีย มันมีไฮโดรเจนอยู่.. ซึ่งถ้าเราสามารถหาวิธีกักเก็บแอมโมเนีย โดยที่สามารถแยกไฮโดรเจนออกมาจากมันได้ง่าย ๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องมีถังแรงดันขนาดใหญ่ที่ไว้ใช้กักเก็บไฮโดรเจน เพราะมันมีต้นทุนสูงกว่าและอันตรายกว่า

ในอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่น โตโยต้าได้เริ่มพัฒนารถยนต์ไฮโดรเจนมานานมากแล้ว และในญี่ปุ่นก็มีใช้อย่างแพร่หลาย แต่มันยังไม่แมสในหลาย ๆ ประเทศ เพราะต้นทุนในการสร้างสถานีเติมก๊าซไฮโดรเจนนั้นสูงมากกก แถมมาตรฐานความปลอดภัยก็ละเอียดหยิบ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าที่มาทีหลัง ได้รับความนิมมากกว่า

สำหรับวิธีการที่นักวิจัยค้นพบ คือการใช้สารประกอบที่มีรูพรุนอย่าง perovskites ในการกักเก็บแอมโมเนีย ซึ่งสามารถทนฤทธิ์กัดกร่อนสูงจากแอมโมเนียได้ สามารถจัดเก็บได้อย่างปลอดภัยโดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการจัดเก็บ

(ปกติแล้ว perovskites เป็นสารประกอบที่ใช้ในการสร้างแผง Solar cell)

และนักวิจัยยังมีวิธีดึงแอมโมเนียออกจาก perovskites โดยใช้วิธีที่ง่ายมาก ๆ และยังสามารถนำ perovskites กลับมาใช้กักเก็บแอมโมเนียได้ใหม่ นั่นแปลว่า เรากำลังจะมีวิธีขนส่งไฮโดรเจนที่ง่ายและปลอดภัยขึ้นมาก

แล้วดีกว่าการขนส่งแบบใส่ถังอัดแรงดันยังไง ?
แอมโมเนียมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงก็จริง แต่ไม่ติดไฟง่าย ขณะที่ไฮโดรเจนนั้นติดไฟได้ง่ายมาก ฉะนั้น การขนส่งจะมีต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งถ้าหากที่สถานีมีการติดตั้งระบบที่ดึงไฮโดรเจนออกจากแอมโมเนียได้แล้ว เราก็จะนำไฮโดรเจนไปใช้งานได้ง่ายมากขึ้นครับ

แต่ ทำซะที่เถอะนะ ญี่ปุ่น ตอนนี้โดนรถไฟฟ้าจีนแซงไปมากแล้ว

interestingengineering